วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบปฏิบัติการ os

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือ OS อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Supervisor Program ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์
ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มาก เพราะซอฟต์แวร์ประเภทอื่น ๆ จะทำงานในคอมพิวเตอร์ได้ ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมและการจัดการของ OS จึงเปรียบ OS เสมือนเป็นผู้จัดการของระบบ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ประเภท OS ระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ Operating System สำคัญดังนี้

- เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยการจัดเตรียมซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า OS Shell ไว้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้ เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ติดต่อกับผู้ใช้โดยให้พิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรอรับคำสั่ง(Prompt Sign) ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows'95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟฟิก เป็นต้น

- ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมการใช้ Disk Drive, Hard Disk, keyboard และ Monitor เป็นต้น

- ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่อยู่ใน ROM (Read Only Memory) เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า การบูต(Boot) เครื่อง OS จะทำงานต่อจากซอฟต์แวร์ประเภท Firmware ที่จัดเก็บไว้ใน ROM ซึ่งจะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียก Firmware นี้ว่า BIOS (ฺBasic Input/Output System) โดย BIOS จะทำการตรวจสอบระบบฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น จากนั้นจึงส่งหน้าที่การต่อให้แก่ซอฟต์แวร์ประเภท OS เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ต่อไป หากไม่มี OS คอมพิวเตอร์ก็จะหยุดการทำงาน

- จัดตาราง(Schedule) การใช้ทรัพยากร ได้แก่การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) ของคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น กำหนดวิธีการจัดคิว(Queue) ของคำสั่ง, เวลาที่ OS อนุญาตให้ใช้ CPU ของแต่ละคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้ให้หน่วยประมวลผลกลางทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด

- จัดการข้อมูลและสารสนเทศภายในหน่วยความจำ ได้แก่ การนำข้อมูลไปวาง(Placement) ในหน่วยความจำ, การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ(Replacement) การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ เป็นต้น

- จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรองข้อมูล(Secondary Storage Unit)

- นำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ และคอยให้บริการเมื่อซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยความจำ, ดิสก์ไดรฟ์, ฮาร์ดดิสก์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

- จัดการในด้านรักษาความปลอดภัย OS แก้ไขข้อบกพร่องระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ รักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ

- จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์, อุปกรณ์ Sound Card , Modem เป็นต้น

o คุณลักษณะของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สามารถพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

- จำนวนงานที่ทำได้ คือ จำนวนงานหรือโปรแกรมที่ OS สามารถจัดการให้ทำงานพร้อม กัน ถ้ามีหลายโปรแกรมหรือหลายงานทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi-Tasking OS แต่ถ้า OS
ควบคุมให้โปรแกรมทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น เรียกว่า Single-Tasking OS

- จำนวนผู้ใช้ คือ OS สามารถควบคุมการทำงานให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้หลายเครื่องในระบบเครือข่ายที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน ถ้า OS สามารถจัดการระบบที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกันได้ในระบบ เรียกว่า Multi-User OS แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบได้เพียงเครื่องเดียวหรือมีผู้ใช้ระบบได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า Single-User OS

- ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Generic Operation System คือ ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น และ Proprietary Operating System คือ ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบ ระบบหนึ่งหรือยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเท่านั้น สร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเพื่อใช้กับ Microprocessor Chip ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ CPU Chip ยี่ห้อ Motorola 6502 เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปได้

ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ได้แก่ ดอส(DOS), วินโดวส์ 95(Windows'95), ยูนิกซ์(UNIX)

o ดอส (DOS : Disk Operating System)

DOS ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันแพร่หลายบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์มีขนาดไม่ใหญ่ สามารถบันทึกไว้บนแผ่นดิสก์ (Diskette) แล้วนำไปใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค. ศ. 1981 เรียกว่า PC-DOS ต่อมาบริษัท Microsoft ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น (Version) 1.0, 2.0, 3.0, 3.30, 4.0, 5.0, 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบนไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย เช่น มีหน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ความจุน้อย , Microprocessor รุ่นเก่า เป็นต้น

ลักษณะการทำงาน DOS ทำงานติดต่อกับผู้ใช้แบบ Interactive Command คือผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งตามรูปแบบที่ DOS กำหนด ณ ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อม(Prompt Sign) รอรับคำสั่งอยู่ ซึ่งมี

เคอร์เซอร์(Cursor) บอกตำแหน่งที่พิมพ์ เมื่อพิมพ์คำสั่งเสร็จ ต้องกดแป้น Enter เพื่อส่งคำสั่งไปทำงาน จากนั้นก็จะได้ผลลัพธ์ของการทำงาน การควบคุมการใช้ DOS ส่วนใหญ่ใช้แป้นพิมพ์เพื่อพิมพ์คำสั่ง ที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าทำงานในรูปแบบ Mode Text บนบรรทัดคำสั่ง (Command Line)

การจัดประเภท DOS จัดเป็น OS ประเภท Single-Tasking, Single-User และ Generic Operating Software และทำงานในโหมดข้อความ (Text Mode) เป็นส่วนใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น