ประวัติภาษาแอสแซมบลี้
ภาษาแอสแซมบลี้ เป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย ภาษาแอสแซมบลีมีลักษณะคำสั่งที่ขึ้นกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานและมีการแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง นอกจากภาษาเครื่อง และภาษาแอสแซมบลีแล้ว ยังมีภาษาระดับสูง เช่น Basic Cobol FORTRANซึ่งเป็นภาษา ที่มีคำสั่งใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมาก ทำให้ผู้เขียนโปรแกรม สามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวกและรวดเร็วแต่ว่า โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงต้องใช้เนื้อที่เก็บในหน่วยความจำเป็นจำนวนมากอีกทั้งทำงานได้ช้ากว่า ภาษาแอสแซมบลีดังนั้นภาษาระดับสูงจึงไม่นิยมนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ที่ระบบการควบคุม ที่มีความสำคัญมาก ภาษาแอสแซมบลี เหมาะกับโปรแกรมที่ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำไม่มากนัก ทั้งทำงานได้รวดเร็วและ ในการควบคุม การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
คำสั่งปฏิบัติการของภาษาแอสแซมบลี แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
- Machine Instruction เป็นคำสั่งที่ทำให้เกิดการปฏิบัติการ (Execution) ชุดของคำสั่งอยู่ใน ; Assembler'instruction set
- Assembler instruction เป็นคำสั่งที่บอกแอสแซมเบอร์ให้ทำการระหว่างการแอสแซมบลี
- Macro instruction เป็นคำสั่งที่บอกแอสเซมเบอร์ให้ดำเนินการกับชุดของคำสั่งที่ได้บอก ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งจากชุดของคำสั่ง แอสเซมเบลอร์จะผลิตชุดของคำสั่ง ซึ่งต่อไปจะดำเนินการ เหมือนหนึ่งว่าชุด ของคำสั่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Source program แต่เริ่มแรก
- Pseudo instruction เป็นคำสั่งที่บอกให้แอสเซมเบลอร์รู้ว่า ควรปฏิบัติการ เช่นไรกับข้อมูล
การBranch อย่างมีข้อแม้ แมคโคร และ listing ซึ่งปกติแล้วคำสั่งเหล่านี้จะไม่ผลิตคำสั่งภาษาเครื่องให้
การพัฒนางานทางด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษา Assembly นั้น ถือว่ายังเป็นที่นิยมอยู่มากในบ้านเรา เรียกได้ว่าเป็นส่วนใหญ่เลย ในขณะที่ต่างประเทศนั้น ภาษา Assembly จะนิยมรองลงมาจากภาษา C ที่ใช้กันเป็นอันดับหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะว่าความคุ้นเคย หรือเพราะความตรงไปตรงมาของภาษา Assembly ที่เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งก็ได้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การเข้าถึงภาษา Assembly ได้นั้น ถือว่าเป็นการเรียนรู้และเข้าใจได้ลึกซึ้งที่สุด และถ้ารู้จักนำมาประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นอย่างมาก สำหรับชิพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น