วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C#

ในสภาพแวดล้อมของ MS Visual C# การพัฒนาแอพลิเคชันขึ้นมาหนึ่งชิ้นเรียกว่าการสร้างโซลูชัน
)solution) ซึ่งประกอบไปด้วยโปรเจ็กต์ (project) ตั้งแต่หนึ่งหรือมากกว่า โดยแต่ละโปรเจ็กต์เป็นชิ้นส่วน
ของซอฟต์แวร์ที่อาจเป็นส่วนของโปรแกรมหลัก หรือส่วนไลบรารี (library) ที่ถูกเรียกใช้โดยโปรเจ็กต์
อื่น ๆ
การใช้งานโปรแกรมภาษา C# มักจะมีการใช้งานตัวระบุ (identifier) อยู่ทั่วไปภายในโปรแกรม เช่น
ชื่อของเนมสเปซ คลาส ตัวแปร ค่าคงที่ โดยการตั้งชื่อตัวระบุจะต้องตั้งชื่อตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานได้ถูกต้องตามที่ต้องการจำเป็นต้องมีการ
แสดงผลลัพธ์ให้เห็นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในที่นี้เราอาศัยคำสั่งที่ใช้ในการพิมพ์ข้อความและค่าของ
นิพิจน์ต่าง ๆ ออกทางจอภาพ ได้แก่ คำสั่ง Write และ WriteLine ซึ่งถูกนิยามไว้ในคลาสชื่อ Console
และเนมสเปสชื่อ System สองคำสั่งนี้มีการใช้งานในลักษณะเดียวกัน แตกต่างกันที่คำสั่ง WriteLine จะ
พิมพ์ข้อความตามด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่
ภาษา C# เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming language) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา
โดยบริษัทไมโครซอฟต์ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา C# นั้นจะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
• วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาโปรแกรม เช่น โปรแกรมจะติดต่อกับผู้ใช้อย่างไร
ข้อมูลที่ผู้ใช้จะป้อนให้กับโปรแกรมเป็นอย่างไร และผลลัพธ์จะถูกแสดงผลอย่างไร
• ออกแบบขั้นตอนวิธี โดยแสดงการทำงานของโปรแกรมในภาพรวมออกมาเป็นลำดับขั้นตอน แต่
ละขั้นตอนมีความชัดเจนและสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปคำสั่งภาษา C# ได้โดยง่าย
• นำขั้นตอนวิธีที่ออกแบบไว้มาสร้างเป็นไฟล์โปรแกรมรหัสต้นฉบับ (source code) ที่ถูกต้อง
ตามโครงสร้างและไวยกรณ์ของตัวภาษา C# ทั้งนี้ไฟล์รหัสต้นฉบับต้องมีนามสกุล .cs เสมอ
เช่น prog1.cs
• แปลงรหัสต้นฉบับให้อยู่ในรูปรหัสภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามคำสั่งได้
ขั้นตอนนี้ต้องใช้โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) ไฟล์รหัสภาษาเครื่องที่ถูกสร้างขึ้น
จากคอมไพเลอร์จะมีนามสกุล .exe ซึ่งย่อมาจาก executable หมายถึงไฟล์ที่ถูกเรียกทำงานได้
• ทดสอบการทำงานของโปรแกรม หากพบข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนที่ผ่าน
มา ซึ่งอาจหมายถึงการแก้ไขโปรแกรม ขั้นตอนวิธี หรือแม้กระทั่งวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
ใหม่
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวนี้นอกจากจะสามารถจะใช้กับภาษา C# แล้วยังสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้กับภาษาอื่น ๆ ได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น